วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

การกำหนดและติดตั้งจอภาพ (Screen Setting)

           ก่อนการติดตั้งจอภาพผู้ติดตั้ง จำเป็นจะต้องพิจารณาตำแหน่งของจอภาพ นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการรับชมแก่ผู้ชม แล้ว ยังเป็นส่งผลต่อคุณภาพของภาพ ด้านความสว่าง  ความคมชัด และความถูกต้องของภาพที่ปรากฏ โดยต้องคำนึงต่อองค์ประกอบต่อไปนี้
1.  ขนาดพื้นที่
2.  จำนวนผู้ชมและตำแหน่งเก้าอี้ โต๊ะ หรือบริเวณของการยืนรับชม
3.  แสงสว่างภายในห้อง
4.  ตำแหน่งของเครื่องฉาย
การติดตั้งจอภาพสามารถกระทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและส่วนประกอบของจอภาพนั้นๆ เราจะพบเห็นการติดตั้งจอภาพโดยทั่วไปใน 3 ลักษณะ คือ
1.แบบสามขา หรือขาตั้ง (Tripod or Portable)  การติดตั้งลักษณะนี้ เป็นการติดตั้งที่กำหนดโดยลักษณะของจอที่ผลิตเป็นแบบเคลื่อนย้าย คือจอภาพมีขาตั้งติดมาด้วย หรือ เนื่องด้วยเป็นการติดตั้งชั่วคราว ที่สามารถแยกส่วนจอและขาตั้งจากกันได้
2. แบบยึดติดผนัง (Spring loaded wall screen) กรณีนี้มักติดตั้งเป็นการถาวร อาจจะใช้วิธีดึงจอขึ้น หรือลงก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของจอของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันมีระบบควบคุมการเก็บและใช้สะดวกมากขึ้น จอแบบนี้เวลาดึงออกมาใช้จะตั้งฉากกับพื้น
3. แบบยึดติดฝ้าเพดาน คล้ายกับแบบติดผนังแต่สามารถปรับมุมในการรับภาพของ
สรุป
             สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือโสตทัศนูปกรณ์มีหน้าที่หลักคือ  ฉายเนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น   และขยายเสียงให้ดังขึ้น  จำแนกออกเป็น   ประเภทได้แก่  เครื่องเสียง  เครื่องฉาย  และการรองรับ การบันทึก การจัดแสดง 
             เครื่องขยายเสียงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตสื่อประเภทเสียง  ทำหน้าที่ขยายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ  รับเสียง  ขยายเสียง  และส่งออก  ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้าได้แก่ไมโครโฟน  ภาคขยายเสียงได้แก่เครื่องเสียงและภาคสัญญาณออกได้แก่ลำโพง
             เครื่องฉาย  หมายถึง  เครื่องมีลักษณะเป็นอุปกรณ์  ( Hardware)  ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดเนื้อหา  ข้อมูลจากวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตัวเอวในเนื้อหาจากวัสดุนั้น  ปรากฎขึ้นมาบนจอภาพให้เห็นได้  โดยเนื้อหานั้นอาจมีเฉพาะข้อความและภาพ  หรือมีเสียงด้วยก็ได้  แล้วแต่ประเภทของเครื่องฉายและวัสดุ    เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา  ปัจจุบันมีหลายชนิด  เช่น  เครื่องฉายข้ามศรีษะ เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายแอลซีดี  เครื่องฉายดีวีดี  เป็นต้น  ส่วนประที่สำคัญของเครื่องฉายได้แก่  หลอดฉาย  แผ่นสะท้อนแสง  วัสดุฉาย  เลนส์  และจอ

เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ ( Overhead Projectors )

           เป็นเครื่องฉายภาพโปร่งแสงขนาด    10  ออกแบบมาสำหรับวางเครื่องฉายหน้าชั้นเรียน  แล้วฉายภาพข้ามศรีษะครูไปยังจอ  ซึ่งแขวนอยู่ที่ผนังหน้าชั้น  เหมาะสำหรับใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน เพราะเวลาฉายไม่ต้องปิดห้องให้มืดสนิท  เหมือนเครื่องฉายประเภทอื่น  ใช้ง่ายสามารถผลิตวัสดุที่จะฉายใช้เองได้เวลาใช้ครูยืนหน้าชั้น  มองเห็นปฎิกิริยาตอบโต้ของผู้เรียนทำให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ  ได้ทันท่วงที  นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพลิก
เเพลงใช้ได้หลายรูปแบบ
1 ลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ

          เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ หรือบางทีเรียกว่า เครื่องฉายภาพโปร่งใส เพราะวัสดุฉาย เป็นแผ่นโปร่งใส (Transparency) หรืออาจเรียกว่า กระดานชอล์กไฟฟ้าเพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส ซึ่งอาจจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า แล้วนำมาวางบนเครื่องฉายซึ่งตั้งอยู่หน้าชั้นเรียน ภาพที่ปรากฏบนจอเหมือนการใช้กระดานชอล์ก ซึ่งผู้สอนจะอธิบายประกอบการฉายก็ได้ สะดวกต่อการนำมาใช้ โดยทั่วไปจะมีคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องฉาย ดังนี้
             1. ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้
             2. ห้องฉายไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนัก ห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้
ผู้เรียน สามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน
             3. เครื่องฉายมีน้ำหนักเบา ใช้และบำรุงรักษาง่าย
             4. สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย ในขณะที่ใช้เป็นการ สะดวกในการสังเกตความสนใจของผู้เรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงการสอนได้อย่างเหมาะสม
             5. ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคำอธิบาย เพราะผู้สอนสามารถวาด (หรือให้ผู้อื่นวาด)
หรือถ่าย (เหมือนถ่ายเอกสาร) หรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสมาก่อนล่วงหน้า เวลาใช้นำมาวางบนเครื่องฉายได้ทันที
             6. สามารถแสดงการใช้แผ่นโปร่งใสให้เห็นเหมือนกับภาพเคลื่อนไหวได้ โดยใช้แผ่นโปร่งใส
ชนิดเคลื่อนไหวได้ (Motion or Polarized Transparency) วางบนเครื่องฉาย แล้วใช้กระจกตัดแสงอยู่ในกรอบกลม ๆ เรียกว่า Polarizing Filter หรือ Polaroid Spinner โดยเปิดสวิทซ์ให้กระจกตัดแสงหมุนใต้เลนส์ฉาย ภาพที่ปรากฏบนจอจะมีลักษณะเหมือนการเคลื่อนไหวได้ เช่น ภาพภูเขาไฟระเบิดการสูบฉีดโลหิตการทำงานของเครื่องจักรเครื่องยนต์
             7. สามารถดัดแปลงการใช้แผ่นโปร่งใสจากการฉายครั้งละแผ่น เป็นการฉายครั้งละหลาย ๆ แผ่นซ้อนกัน ซึ่งเรียกว่า Overlays 8) สามารถฉายวัสดุหรือเครื่องมือที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใสได้ หรือวัสดุทึบแสงได้ ซึ่งจะให้ภาพเป็นภาพดำบนจอ ไม่แสดงรายละเอียดเหมือนวัสดุโปร่งใส จะเห็นเป็นเพียงรูปแบบของวัสดุ หรือเครื่องมือเท่านั้น
             8. สามารถใช้แสดงการทดลองหรือสาธิต โดยนำวัสดุมาวางบนเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส วางแผ่นโปร่งใสบนแท่งแม่เหล็ก โรยผงตะไบเหล็กบนแผ่นโปร่งใส แล้วเคาะแผ่นโปร่งใส ภาพของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบนแผ่นโปร่งใสจะปรากฏที่จอ

2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

       เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะโดยทั่ว ๆ ไป จะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เครื่องควรจะ ทราบไว้ เพื่อสามารถใช้เครื่องฉายได้ถูกต้อง ดังนี้
             1. หลอดฉาย (Projection Lamp) อยู่ภายในเครื่อง ทำหน้าที่ให้แสงสว่างมีกำลังส่องสว่างประมาณ250-600 วัตต์ มีแผ่นสะท้อนแสงอยู่ภายในหลอด บางเครื่องอยู่ใต้หลอด ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากหลอดฉายขึ้นไป ช่วยให้แสงมีความเข้มมากขึ้น
             2. เลนส์เฟรสนัล (Fresnel Lens) เป็นเลนส์ชนิดพิเศษเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมีร่องคล้ายแผ่นเสียง ทำหน้าที่เกลี่ยแสงจากหลอดฉายให้เสมอกันผ่านวัสดุฉายไปยังเลนส์ฉายพอดี
             3. แท่นวางโปร่งใส (Platen) เป็นกระจกสำหรับวางแผ่นโปร่งใส ช่วยกรองความร้อนไม่ให้ผ่านมายังแผ่นโปร่งใสมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้แผ่นโปร่งใสเสียหายได้ อาจจะติดแผ่นกรองแสง (Glare Free)ใต้แท่นนี้ด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้ใช้มองแผ่นโปร่งใสได้สบายตาขึ้น
             4. เลนส์ฉาย (Projection Lens) เป็นชุดของเลนส์นูน ทำหน้าที่รับแสงจากหลอดฉายซึ่งผ่านเลนส์เฟรสนัล ผ่านวัสดุฉาย และขยายภาพออกสู่จอ ที่ด้านบนของเลนส์ฉายจะมีกระจกเงาราบ ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากแนวดิ่งให้กลับไปในแนวระดับสู่จอ สามารถยกให้สูงหรือต่ำได้เพื่อให้ภาพบนจอสูงขึ้นหรือต่ำลง
             5. ปุ่มปรับความชัด (Focusing Knob) ใช้สำหรับหมุนเพื่อให้เลนส์ฉายเลื่อนขึ้นเลื่อนลง ทำให้ภาพบนจอมีความคมชัด
             6. พัดลม (Fan) ทำหน้าที่ระบายความร้อนภายในเครื่อง เหมือนเครื่องฉายอื่น ๆ การทำงานของพัดลมในเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะบางชนิดใช้การควบคุมแบบเทอร์โมสตัท (Thermostat) คือ พัดลมจะทำงานเองเมื่อเครื่องเริ่มร้อน และจะหยุดทำงานเองเมื่อเครื่องเย็นลง
             7. สวิทซ์สำหรับเปิดปิดหลอดฉาย บางเครื่องมีปุ่มสำหรับหรี่และเพิ่มความสว่างของหลอดฉายได้ด้วย
             8. ปุ่มสำหรับเปิดฝาเวลาเปลี่ยนหลอด

 3. โสตทัศนูปกรณ์ประเภทการรองรับ   การบันทึก  การจัดแสดง
     โสตทัศนูปกรณ์บางชนิดไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตัวมันเอง  เช่น  เครื่องวิชวลไลเซอร์  เครื่องเล่นวีดีทัศน์  เครื่องเล่นดีวีดี   เป็นต้น  เครื่องเหล่านี้จำเป็นต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายต่างๆ  หรือ เครื่องขยายเสียง  จึงจะช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจน  เป็นต้น
1)             เครื่องวิชวลไลเซอร์  (  Visualizer  หรือ  Visual  Presenter  ) 
เครื่องวิชวลไลเซอร์  เป็นเครื่องฉายแปลงสัญญาณที่ฉายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวโดยการต่อเครื่องวิชวลไลเซอร์กับเครื่องมอนิเตอร์เพื่อแสดงภาพทางหน้าจอคอมพิวเตอร์  หรืออาจต่อร่วมกับเครื่องฉายแอลซีดี  (  LCD  projector  )  เพื่อฉายสัญญาณภาพขนาดใหญ่บนจอภาพหลักการทำงานของเครื่องวิชวลไลเซอร์คือการแปลงสัญญาณภาพของวัตถุเป็นสัญญาณไฟฟ้า  ก่อนที่จะแปลงกับเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง  การฉายภาพนิ่งสามารถฉายได้ทั้งภาพทึบแสง  ภาพโปร่งแสง  และภาพจากวัสดุ   มิติ  โดยการวางวัสดุที่ต้องฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุดังกล่าวแล้วฉายออกไปที่จอ  
2)             เครื่องเล่นวีดีทัศน์  (  Video  Player  )    
เครื่องเล่นวีดีทัศน์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า    เครื่องเล่นวีดีโอ    หรือ    เครื่องเล่นเทปโทรทัศน์    เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณภาพและเสียง  ถ่ายทอดออกทางจอโทรทัศน์หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี  เพื่อฉายภาพบนจอให้เป็นภาพขนาดใหญ่ขึ้น
3)             เครื่องเล่นวีซีดี  (  VCD  :   Video  Compact  Disc  )     
เครื่องเล่นวีซีดี  เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดีระบบดิจิทัลที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียงแบบวีดีทัศน์  เพื่อเสนอภาพจอโทรทัศน์  เครื่องเล่นวีซีดีนอกจากจะเล่นแผ่นวีซีดีแล้วยังสามารถเล่นแผ่นซีดีเพลงที่มีเฉพาะเสียงได้ด้วย  เครื่องเล่นชนิดนี้ส่วนมากจะเล่นแผ่นวีซีดี  ได้ติดต่อกันตั้งแต่  1 -  แผ่น  ทั้งนี้เพื่อให้สามารถชมภาพยนตร์ได้ติดต่อกันตลอดเรื่องโดยไม่ต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนแผ่นใหม่


4)             เครื่องเล่นดีวีดี  (  DVD  Player  )
เครื่องเล่นดีวีดี  เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์  และเสียงเพื่อฉายภาพบนจอโทรทัศน์ในลักษณะเดียวกับแผ่นวีซีดี  แต่จะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่ามาก  รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆ  เพิ่มขึ้นอีกหลายประการ
        โสตทัศนูปกรณ์ประเภทการจัดแสดง ได้แก่ กระดานชอล์ค บอร์ดนิทรรศการ ป้ายนิเทศ บูธจัดนิทรรศการ ใช้ประกอบการนำเสนอเนื้อหาวิชา ด้วยการ ขีด-เขียน ปะติด จัดวาง ประดับตกแต่งให้มีความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้จัดทำ สามารถลงรายละเอียดปลีกย่อยในสิ่งที่นำเสนอ ส่วนใหญ่ออกแบบมาให้เคลื่อนย้ายได้ บางชนิดติดตรึงอยู่กับที่ในห้องแสดง เช่น ในห้องเรียน ห้องนิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑ์ ผู้ชมต้องเดินมาศึกษารายละเอียดด้วยตนเองยังสถานที่จัดแสดง
           หลักและวิธีการใช้โสตทัศนูปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ  สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้งานที่เกิดขึ้นได้รับผลตามความมุ่งหมาย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ คือ
1. ผู้ใช้รู้และเข้าใจการใช้งานอย่างถูกวิธี และถูกขั้นตอน
2. ผู้ใช้เข้าใจคุณค่า คุณลักษณะ และประโยชน์ในการใช้ของเครื่องมืออุปกรณ์นั้นอย่างแท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ถ้าผู้ใช้โสตทัศนูปกรณ์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวมาทั้ง 2ข้อ ผลที่จะเกิดตามมาก็คือ การพัฒนาการใช้ที่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ ที่แปลก หรือซับซ้อนมากขึ้น กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า เทคนิคการใช้นั้นเอง