วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector)

                 เครื่องฉายสไลด์มีหลักการเกิดภาพคล้ายกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ แต่วัสดุที่นำมาใช้เป็นฟิล์มสไลด์ที่ได้จาการถ่ายรูป หรือพิมพ์ด้วยวิธีการอื่น เช่น  จากเครื่องสร้างภาพสไลด์จากคอมพิวเตอร์ สไลด์เหมาะแก่การใช้กับการนำเสนอกลุ่มใหญ่เช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายสไลด์ที่ใช้ในการนำเสนอมีอยู่   แบบ โดยแบ่งตามความสามารถในการควบคุมเครื่อง คือ
1. เครื่องฉายสไลด์แบบ Manual แบบนี้การเปลี่ยนภาพแต่ละภาพใช้การควบคุมที่ตัวเครื่อง หรือผ่านตัวควบคุมระยะไกล(Remote control) การใช้จึงจำเป็นต้องมีคนช่วย หรือต้องควบคุมด้วยผู้นำเสนอเอง นิยมใช้ในการนำเสนอแบบประกอบการบรรยาย เพราะสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการในทันทีทันใด
2.  เครื่องฉายสไลด์แบบ Automatic เครื่องฉายสไลด์แบบ Automatic หรืออาจเรียกได้ว่าแบบ Programmable เป็นเครื่องฉายที่มีการควบคุมการเปลี่ยนภาพจากอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องควบคุมแบบเทปบันทึกเสียง อาศัยการบันทึกสัญญาณควบคุมลงในเทปเสียง เมื่อเล่นกลับสัญญานควบคุมที่บันทึกไว้จะถูกส่งไปควบคุมเครื่องฉายสไลด์ให้เปลี่ยนภาพตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นเวลาที่เทปเดินนั้นเอง ตรงนี้นอกจากจะบันทึกสัญญาณควบคุมแล้ว ยังสามารถบันทึกสัญญาณเสียงลงไปในเทปได้ด้วย ในลักษณะนี้เราจะรู้จักกันทั่วไปว่า เป็นสไลด์ประกอบคำบรรยาย  สไลด์ประกอบคำบรรยายนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 2 เครื่องเป็นต้นไป สามารถสร้างเทคนิคพิเศษในการเปลี่ยนภาพ เช่นการ เฟด การจางเข้าออก การซ้อนภาพ และถ้ามีจำนวนเครื่องฉายตั้งแต่ 4 เครื่องขึ้นไปจะสามารถทำเทคนิคการนำเสนอได้หลากหลายมาขึ้น และเรียกการนำเสนอนั้นว่า สไลด์มัลติวิชั่น
        
      สไลด์กล่าวได้ว่ามีคุณค่าและประโยชน์ไม่แพ้เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ มีคุณค่าและประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย คือ

1. สามารถยืดหยุ่นในการนำสื่อไปจัดใช้

2. สามารถใช้ในนำเสนอได้ทั้งแบบรายบุคคล กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่

3. สามารถโปรแกรมได้ ร่วมกับเทปเสียง

               ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องฉายสไลด์ในเนื้อหาต่างๆ

·    ด้านศิลปะ  ใช้สไลด์แสดงภาพผลงานจิตรกร
·    ประวัติศาสตร์   ใช้สไลด์แสดงภาพสถานที่  รายละเอียดต่างๆ คล้ายการไปทัวร์
·    ชีววิทยา ใช้สไลด์นำเสนอภาพถ่ายใกล้มากๆ หรืออธิบายรายละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น